การส่งบทความวิจัย

การนำเสนอผลงาน

บทความวิจัยที่ส่งมาเพื่อรับการพิจารณาจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อขอรับการตีพิมพ์ในแหล่งอื่น ๆ ผู้เขียนบทความจะต้องส่งบทความฉบับเต็ม (full paper) ทั้งหมดในรูปของไฟล์เอกสาร Microsoft Words (.docx) และรูปแบบ PDF File (.pdf) โดยการลงทะเบียนและส่งบทความในระบบ Online ที่เมนูลงทะเบียน

ทางผู้จัดจะรับพิจารณาบทความที่เป็นภาษาไทย จัดพิมพ์ตามรูปแบบที่กำหนด (Template) เป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว ขนาด A4 โดยเว้นระยะขอบทุกด้านขนาด 25 มม. กำหนดระยะห่าง 1 บรรทัด (Single) ให้พิมพ์ด้วยตัวอักษร TH SarabunPSK ทั้งหมด เมื่อจัดพิมพ์ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว จำนวนหน้าทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 หน้า รวมทั้งรูปและตาราง หากจำเป็นต้องมีการใช้หน่วยในบทความ ให้ใช้หน่วยในระบบ SI หรือหน่วยอื่นใดตามที่จำเป็นในสาขาที่เกี่ยวข้อง โดยบทความจะมีองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้

  • ชื่อเรื่อง ให้ระบุทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวแบบหนาขนาด 18 Point วางไว้ตำแหน่งกลางหน้ากระดาษ
  • ชื่อผู้เขียนบทความและผู้ร่วม ให้ระบุเฉพาะชื่อ นามสกุลของผู้เขียนทุกคน โดยไม่ต้องมีคำนำหน้าชื่อ ตำแหน่ง และคุณวุฒิ ใช้ตัวแบบหนาขนาด 14 Point ระบุสถาบันที่สังกัดหรือสถานที่ทำงานอย่างชัดเจน ใช้ตัวอักษรแบบธรรมดา ขนาด 14 Point โดยเติมหมายเลข (ยกสูง) ที่ท้ายชื่อของผู้เขียนทุกคนให้ตรงกับรายละเอียดของแต่ละคน (กรณีสังกัดไม่ตรงกัน) และระบุสัญลักษณ์ * ต่อท้ายที่ชื่อผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ด้วย โดยมี E-mail address เฉพาะของผู้รับผิดชอบบทความ
  • บทคัดย่อ ต้องมีบทคัดย่อ (abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point เฉพาะคำ บทคัดย่อ และ Abstract โดยวางชิดขอบซ้าย ส่วนเนื้อหาบทคัดย่อใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point จัดหน้าเป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว มีการย่อหน้า และจัดวางชิดขอบซ้ายและขวา มีความยาวไม่เกิน 300 คำ พร้อมทั้งกำหนดคำสำคัญ (Keyword) ประมาณ 3-5 คำ เพื่อใช้สำหรับสืบค้นบทความ ควรตรวจสอบให้มั่นใจว่า abstract ภาษาอังกฤษมีใจความตรงกันกับบทคัดย่อภาษาไทย
  • บทนำ กล่าวถึงที่มา ความจำเป็น วัตถุประสงค์ และความสำคัญของเรื่อง หัวข้อใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point วางชิดขอบซ้าย ส่วนรายละเอียดสาระใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point จัดหน้าเป็นแบบคอลัมน์เดี่ยว และวางชิดขอบซ้ายและขวา ควรมีแนวคิดทฤษฎีหรือความรู้พื้นฐาน รวมทั้งวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยเลือกงานวิจัยที่สำคัญและทันสมัยมาอ้างอิงในเนื้อหา อาจมีขอบเขตของการวิจัย นิยามศัพท์เฉพาะ รวมทั้งประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ มาเขียนเป็นส่วนหนึ่งในบทนำได้
  • วิธีดำเนินการวิจัย กล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่าง/ เครื่องมือวิจัย/ ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย/ ตัวแปร/สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการวิจัย แสดงสูตรการคำนวณเฉพาะทาง ผู้เขียนอาจกล่าวถึงค่าสถิติพื้นฐาน เช่น ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยไม่ต้องแสดงสูตรการคำนวณ เพื่อการประหยัดพื้นที่ในการเขียน ชื่อหัวข้อหลักใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point ส่วนชื่อหัวข้อรอง ใช้ตัวแบบหนาขนาด 14 Point วางชิดขอบซ้าย ส่วนรายละเอียดเนื้อหาใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point จัดแบบคอลัมน์เดี่ยวเช่นเดียวกัน และจัดวางชิดขอบซ้ายและขวา เมื่อขึ้นคอลัมน์ใหม่ให้มีการย่อหน้า
  • ผลการวิจัยและอภิปรายผล รายงานผลตามวัตถุประสงค์ และอภิปรายเหตุผลที่ผลการวิจัยเป็นเช่นนั้น โดยอ้างอิงทฤษฎี หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้อง อาจเขียนผลการอภิปรายแยกออกมาต่างหาก หรือรวมการอภิปรายผลไว้กับผลหรือสิ่งที่ค้นพบก็ได้ ซึ่งสามารถยืนยันถึงความสำคัญของงานวิจัย โดยกล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษาตามวัตถุประสงค์ และมีการเชื่อมโยงข้อค้นพบกับงานวิจัยอื่น ๆ ชื่อหัวข้อหลักใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point ส่วนชื่อหัวข้อรอง ใช้ตัวแบบหนาขนาด 14 Point วางชิดขอบซ้าย ส่วนรายละเอียดเนื้อหาใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point จัดแบบคอลัมน์เดี่ยวเช่นเดียวกัน และจัดวางชิดขอบซ้ายและขวา เมื่อขึ้นคอลัมน์ใหม่ให้มีการย่อหน้า โดยอาจมีรูปภาพ ตาราง หรือแผนภูมิประกอบ ชื่อตาราง ใช้ตัวขนาด 14 Point วางชิดขอบซ้าย ส่วนข้อมูลในตารางใช้ตัวขนาด 12 Point ส่วนชื่อรูป ใช้ตัวขนาด 14 Point วางกึ่งกลาง โดยระบุหมายเลขและคำบรรยายที่ชื่อของตารางและรูป
  • สรุปผลการวิจัย เป็นการสรุปแนวคิดที่ได้จากบทความ รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อการนำข้อมูลจากบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ ควรใช้ภาษาที่ชัดเจนและรัดกุม บ่งบอกถึงการตอบคำถามของการวิจัยที่ชัดเจนหรือสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ หัวข้อใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point วางชิดขอบซ้าย ส่วนรายละเอียดใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point
  • กิตติกรรมประกาศ สามารถแสดงกิตติกรรมประกาศต่อบุคคลหรือสถาบันที่ให้การสนับสนุนที่สำคัญต่องานวิจัย
  • เอกสารอ้างอิง (References) ให้รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์และข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงของบทความเท่านั้น โดยมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงในเนื้อหาบทความ แบบระบบตัวเลขใน [ ] และท้ายบทความ ใช้ระบบบรรณานุกรมหรือรายการอ้างอิงแบบ IEEE หัวข้อใช้ตัวแบบหนาขนาด 16 Point วางชิดขอบซ้าย รายการอ้างอิงใช้ตัวแบบธรรมดาขนาด 14 Point

ไฟล์รูปแบบการจัดพิมพ์บทความ (Template)

Download