บรรยายพิเศษ

KeynoteSpeaker 01

 

การเข้ามาเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาอย่างฉับพลันของการแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการเรียนการสอนจนเป็นปกติใหม่ของชีวิต ขณะที่การค่อย ๆ ยุติลงของสถานการณ์โควิดกลับทำให้วิธีการจัดการเรียนรู้เข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ เข้าสู่วิธีการปฏิบัติที่เป็นปกติในยุคถัดไป โดยไม่กลับไปสู่ยุคเดิมที่คุ้นเคยกับการจัดการเรียนการสอนที่ใช้ห้องเรียนเป็นฐาน แต่จะเป็นการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นฐาน ซึ่งทำรูปแบบการจัดการเรียนการสอนต้องเปลี่ยนแปลงไปจากวิธีการเดิม รูปแบบการเรียนรู้แบบใหม่ถูกนำเข้ามาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนในยุคถัดไป (Next Normal) จะมีสองลักษณะใหญ่ ๆ คือ ลักษณะแรกเป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในช่วงที่เกิดโควิดเกิดการเรียนรู้แบบปกติใหม่ (New Normal) ที่จะยังคงใช้ต่อไป ลักษณะที่สองคือหลังเกิดสถานการณ์โควิดจะต้องเน้นการจัดการเรียนรู้ที่ต้องแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและกระบวนทัศน์ที่เปลี่ยนไป

รูปแบบการเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในช่วงปกติใหม่เน้นการเรียนรู้แบบผสมผสานยืดหยุ่น ทั้งที่เป็นการเรียนแบบผสมผสานแบบต่าง ๆ ทั้ง Blended Learning, Hybrid Learning, Hyflex Learning, ไปจนการจัดการเรียนรู้แบบจุลภาค (Microlearning), ห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ไปจนการจัดการเรียนรู้เสมือนทั้งที่เป็นห้องเรียนเสมือนโดยใช้ Virtual Reality (VR), Augmented Reality (AR), Mixed Reality (MR), eXtended Reality (XR) ไปสู่การจัดการเรียนรู้ผ่านจักรวาลนฤมิตร (Metaverse) ในขณะที่การจัดการเรียนรู้แบบเดลิเวอรี่ก็มีทั้งในแบบที่เป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางไกล (Remote Learning), การเรียนรู้ผ่านห้องปฏิบัติการระยะไกล (Remote Laboratory) ตลอดจนแพลตฟอร์มการเรียนรู้ประสบการณ์ (Learning Experience Platform) ที่เป็นสภาพการเรียนรู้เสมือนจริง (Virtual Learning Environment) และนิเวศการเรียนรู้ดิจิทัล (Digital Learning Ecosystem) ล้วนเป็นสิ่งที่ยังใช้ในการจัดการเรียนรู้ยุคต่อไปอย่างต่อเนื่อง

รูปแบบการเรียนการสอนในสถานการณ์การจัดการเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดคือ สถานการณ์ภาวการณ์เรียนรู้ถดถอย (Learning Lose) หลังโควิด-19 และต้องอาศัยการออกแบบการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่ต้องใช้แก้ไขปัญหาในลักษณะที่เป็นการจัดการศึกษาเพื่อฟื้นฟู (Remediation Education) ที่จะต้องมีรูปแบบการสอนซ่อมเสริม (Remedial Teaching) ที่ต้องใช้หลักจิตวิทยาการฟื้นฟูทางปัญญา (Cognitive Remediation) ที่ต้องใช้การปรับการเรียนรู้ตามความจริง (Learning Realignment) ตลอดจนการจัดการเรียนรู้เพื่อมวลชนแบบเปิด (Massive open online course : MOOC) ที่ต้องปรับมาใช้สอนซ่อมเสริมแบบคอร์สออนไลน์ส่วนตัวขนาดเล็ก (Small Private Online Course : SPOC) ที่ต้องใช้การเรียนรู้แบบหลักฐานเป็นหลัก (Evidence-based Learning) ที่เน้นการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experience Learning) เป็นวิธีการที่เน้นในการจัดการเรียนการสอนยุคต่อไป

Slide Keynote Speaker 01

Download