บรรยายพิเศษ

KeynoteSpeaker 04

 

ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเครือข่ายได้รับแรงสนับสนุนจาก แนวความคิดด้าน WEB 3.0 วิวัฒนาการของการเชื่อมต่อที่ไร้พรมแดนและไร้ตัวกลาง หากกล่าวถึงเทคโนโลยี ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งได้นาไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายภาคอุตสาหกรรมรวมถึงการศึกษา วิวัฒนาการเริ่มจาก Web 1.0 เป็นเว็บไซต์ในช่วงยุคเริ่มต้นราวปี 1990 – 2000 ที่ทาหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารในรูปแบบสื่อสารทางเดียว (One Way Communication) โดยผู้สร้างเนื้อหา หรือ เจ้าของเว็บ จะเป็นผู้กาหนดส่วนของเนื้อหาทั้งหมดให้แก่ผู้ใช้งาน หรือ ผู้บริโภค รับรู้ข่าวสารได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้นไม่สามารถโต้ตอบอะไรได้ และข้อมูลที่มีการนาเสนอมานั้นจะมีลักษณะแบบคงที่ (Static) เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถทาการอัปเดตได้นอกจากเจ้าของ หรือผู้สร้างเนื้อหา ส่งผลให้เกิดข้อกาจัดทั้งในเรื่องของการสื่อสาร และการใช้งานระหว่างกัน จนได้มีการเริ่มพัฒนาต่อเป็น Web 2.0 ที่เป็นการพัฒนาให้สามารถทาได้ทั้งอ่าน และเขียนเพื่อโต้ตอบกันได้อย่างอิสระเป็นแบบสื่อสารสองทาง (Two Ways Communication) และข้อมูลข่าวสารที่มีการนาเสนอนั้นจะมีการพัฒนาเป็นแบบ Dynamic สามารถอัปเดตข่าวสารได้ตลอดเวลา ส่งผลให้ผู้ใช้งานสามารถเป็นได้ทั้งผู้สร้างและผู้บริโภคในการสร้างสรรค์เนื้อหา Content ต่าง ๆ หรือ พูดคุยโต้ตอบระหว่างกันบนเว็บไซต์ได้ ทาให้การปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งานมากมายบนอินเทอร์เน็ต ก่อให้เกิดเป็นสังคมออนไลน์ Social Network และ Web 3.0 คือแนวคิด หรือรูปแบบของเว็บไซต์ที่กาลังจะพัฒนาขึ้นมาในอนาคตอันใกล้

ในด้านการศึกษาระบบห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom Systems) ได้มีการประยุกต์ใช้งานต่อยอดจากแนวคิดของ Web 1.0, 2.0 และ 3.0 ที่จะรองรับระบบห้องเรียนเสมือน จากเว็บสื่อสารทางเดียวในลักษณะคงที่ ไปเป็นสื่อสารสองทางผ่านรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์ จนถึงเทคโนโลยีอุบัติใหม่ (Emerging Technology) อาทิ AR, VR, Metaverse, Blockchain โดยวิวัฒนาการด้านเครือข่ายโทรคมนาคมยุค 2G, 3G, 4G และ 5G สามารถเทียบเคียงในช่วงเวลาของ Web 1.0, 2.0 และ 3.0 ในแนวทางเดียวกันจากอนาล็อกสู่ดิจิทัล ผ่านการสื่อสารด้านเสียง ข้อความ และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและบริการดิจิทัลในยุค 1G ถึง 4G และการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในการก้าวสู่ 5G ที่รองรับสถาปัตยกรรมคลาวด์ และการประมวลผลที่ Edge Computing ด้วยความเร็วในการสื่อสารที่มากขึ้นกว่า 20 เท่า ตลอดจนความหน่วงของการส่งข้อมูลที่เข้าใกล้ศูนย์ (Near Zero Latency)

ด้วยความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีเครือข่ายข้างต้นสามารถที่จะรองรับการเข้าถึงและใช้งานระบบห้องเรียนเสมือนในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนทางไกลที่ใช้การถ่ายทอดสัญญาณแบบทางเดียว ห้องเรียนเสมือนแบบมีปฏิสัมพันธ์สองทางผ่านระบบการประชุมออนไลน์ จนถึงการเข้าถึงห้องเรียนเสมือนในรูปแบบ Hologram, Virtual Reality, Augmented Reality, Mixed Reality หรือ Metaverse ที่จะต้องอาศัยเทคโนโลยีเครือข่ายเชื่อมต่ออุปกรณ์สื่อสาร และอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ เช่น VR Glasses, VR Headsets

โดยสรุปวิวัฒนาการเครือข่ายโทรคมนาคมยุค 5G และเทคโนโลยี Web 3.0 จะสอดประสานรองรับความเป็นไปได้ของการพัฒนาระบบห้องเรียนเสมือนไนยุคอนาคตจาก AR, VR, IoT สู่เทคโนโลยี Blockchain ด้านการศึกษา การเรียนรู้แบบปัจเจกบุคคล โมบายแอพพลิเคชั่นที่มีความสามารถด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่มีการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลของผู้เรียนเป็นรายบุคคลนามาประมวลผลและปรับให้เกิดประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียน (Learner Experience) ที่ดีที่สุด

Slide Keynote Speaker 04

Download