บรรยายพิเศษ

KeynoteSpeaker 03

 

โค้ดดิ้งหรือที่เรียกกันทั่วไปว่าการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ถูกนำมาใช้ในการเรียนการสอนปี 1960 Perlis ได้แนะนำให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชาจำเป็นต้องเรียนรู้การเขียนโปรแกรมและทฤษฎีการคำนวณในหลักสูตร ในทศวรรษ 1980  ได้มีการโดยใช้โลโก้ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่ง แต่หลังจากนั้นการสอนด้านการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะเน้นด้านคอมพิวเตอร์ทักษะอื่นๆ เช่น การประมวลผลคำและการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต ตั้งแต่ปี 2010 ได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในหลักสูตรระดับประถมศึกษาในหลายประเทศเช่น อังกฤษ และออสเตรเลีย และเริ่มมีการสอนการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่อายุน้อยและได้เริ่มมีการพัฒนาหลักสูตรการคิดเชิงคำนวณและการโค้ดดิ้ง การเรียนโค้ดดิ้งได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเตรียมกำลังคนสำหรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อสร้างนวัตกร รวมทั้งการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนควรเรียนรู้ และโค้ดดิ้งสามารถทำให้ผู้เรียนได้ฝึกการคิดเชิงคำนวณได้

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นกระบวนการของการวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาวิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อให้มนุษย์หรือคอมพิวเตอร์สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง การคิดเชิงคำนวณเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่อาศัยกระบวนการต่าง ๆ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกะ การวิเคราะห์ข้อมูล และการหาคำตอบอย่างเป็นขั้นเป็นตอน การคิดเชิงคำนวณเป็นทักษะการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานที่ควรเรียนรู้ควบคู่ เช่นเดียวกับ การอ่าน การเขียน และคณิตศาสตร์

เมื่อได้ยินคำว่าหุ่นยนต์เราจะนึกถึงอะไร? บางคนอาจนึกถึงวัตถุที่มีรูปร่างคล้ายมนุษย์ มีแผงไฟกระพริบ หรือ มีเสียงแหลมตลก ๆ หรือบางทีอาจนึกถึงสายการผลิตขนาดใหญ่ในโรงงานที่การทำงานทั้งหมดใช้หุ่นยนต์  คำว่า “หุ่นยนต์” หรือ Robot ถูกใช้ครั้งแรกโดยไอแซก อาซิมอฟ (Isaac Asimov) ในราวปี 1940 ในนิยายวิทยาศาสตร์ของเขา การนิยามความหมายของหุ่นยนต์ได้มีการกำหนดไว้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น หุ่นยนต์คือคอมพิวเตอร์ที่สามารถรับรู้ คิด และเคลื่อนไหวได้ด้วยตัวเองที่อาจมีขนาด รูปทรง และระดับสติปัญญาที่หลากหลาย และ และถูกออกแบบมาเพื่องานเฉพาะต่างๆ หรือเครื่องที่ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทำงานโดยอัตโนมัติ ด้วยคุณลักษณะของการสร้างและใช้งานหุ่นยนต์ นอกจากจะใช้เพื่อวัตถุประสงค์โดยตรงของหุ่นยนต์ เช่น การประยุกต์ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้เราสามารถนำหุ่นยนต์มาใช้ด้านอื่นด้วยเช่นด้านความบันเทิง ด้านการอำนวยความสะดวกในบ้านเรือนเช่นหุ่นยนต์ความความสะอาดพื้น เป็นต้น

ดังนั้นการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ (ทั้งของจริงและการจำลองโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์) มาใช้ในการเรียนการสอน จะช่วยให้เกิดการผสมผสานระหว่างการคิดเชิงคำนวณ การบูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ รวมทั้งยังส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันได้จนสามารถเปลี่ยนความคิดเชิงนามธรรมเป็นสิ่งที่จับต้องได้ผ่านกระบวนการแก้ปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ ได้

Slide Keynote Speaker 03

Download